Support
worldonline
0981785899
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ
จำนวนครั้งที่เปิดดูสินค้า : 4461 | ความคิดเห็น: 0

BANK & ICC

 เพิ่มเมื่อ: 2014-01-24 08:02:11.0
 แก้ไขล่าสุด: 2014-01-28 08:47:49.0
 เบอร์โทรติดต่อ: 0981785899
 อีเมลล์: okduebook@gmail.com

รายละเอียด:
RWA,KYC,MT,BE,LG,PN,SBLC,BG,BOEI,BANKTOP5
ไม่ระบุราคา

 สินค้าที่เกี่ยวข้อง

เครื่องมือทำงานออนไลน์ BANK & MT BANK และตราสาร

      ICC (International Chamber of Commerce)  คือ หอการค้านานาชาติ มีลักษณะเป็นองค์กรเอกชนระหว่างประเทศ ซึ่ง ICC ในไทยนั้นเป็นกระบอกเสียงของผู้ประกอบธุรกิจในประเทศไทยในการนำเสนอและปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบติดตามความเคลื่อนไหวและแนวโน้มการค้าระหว่างประเทศติดตามความเคลื่อนไหวและแนวโน้มระหว่างประเทศ

    ซึ่งหลายคนอาจคิดว่า ICC ที่ฉันจะพูดในวันนี้คือเรื่องนี้แต่ความจริงแล้วไม่ใช่คะคนละเรื่องแต่เป็นอักษรย่อที่เหมือนกันเท่านั้นดิฉันยกขึ้นมาเพื่อไม่ให้สับสนคะ อย่าสับสนนะคะ

                ICC ที่ฉันนำมาศึกษาในวันนี้นั้นไม่เกี่ยวข้องอะไรกับICC ข้างต้นเลยแต่เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับศาลคะซึ่งก็คือ

                ICC (International Criminal Court) ศาลอาญาระหว่างประเทศ   

     คือศาลอาญาระหว่างประเทศ มีสถานะเป็นองค์กรระหว่างประเทศ (International Organization)  ที่ถือกำเนิดขึ้นโดยธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ (Rome Statute of the International Criminal Court) เพื่อให้เป็นองค์กรตุลาการถาวรที่เป็นอิสระ เพื่อพิจารณาคดีอาญาที่ถือว่ารุนแรงตามกฎหมายระหว่างประเทศ  คดีที่อยู่ในอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศศาลอาญาระหว่างประเทศคือ  จะพิจารณาคดีอาญาที่ร้ายแรงที่สุดที่กระทำลงโดยบุคคล เช่น การล้างเผ่าพันธุ์ อาชญากรรมต่อมนุษยชาติ อาชญากรรมสงครามและอาชญากรรมที่เป็นการรุกราน ซึ่งอาชญากรรมเหล่านี้ล้วนแต่ระบุไว้ในธรรมนูญกรุงโรม และได้นิยามอาชญากรรมเหล่านั้นไว้อย่างรอบคอบ เพื่อหลีกเลี่ยงความคลุมเครือและคำจำกัดความที่ขาดความชัดเจน แต่อาชญากรรมที่เป็นการรุกรานจะนำขึ้นสู่การพิจารณาในศาลอาญาระหว่างประเทศได้ เมื่อรัฐภาคีต่างๆ บรรลุข้อตกลงร่วมกันในเรื่องของคำจำกัดความและองค์ประกอบความผิดและภายใต้เงื่อนไขต่างๆ ที่ศาลอาญาระหว่างประเทศจะใช้อำนาจของศาล

  ประธานศาลฯ คนปัจจุบัน คือ ซาง-ฮยุน ซง (Sang-Hyun Song) ได้รับเลือกตั้งมาเมื่อวันที่ 11 มีนาคม ค.ศ. 2009

 

ศาลอาญาระหว่างประเทศนั้นมีความจำเป็นอย่างไร 

          การจับตัวบุคคลที่ต้องรับผิดชอบต่อการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศเป็นวิถีการเดียวที่ประชาคมโลกจะสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพกับผู้ก่ออาชญากรรมร้ายแรงที่ประชาคมโลกวิตกกังวล แนวทางนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของอาชญากรรมในปัจจุบันและในการป้องปรามบรรดาอาชญากรในอนาคตอีกด้วย ในประเทศที่ศาลสถิตยุติธรรมไม่อาจดำเนินการกับบรรดาผู้ละเมิดกฏหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ ศาลอาญาระหว่างประเทศศาลนี้เองที่น่าจะสามารถป้องปรามพวกเผด็จการให้ละจากการเข่นฆ่าสังหารพลเมืองในประเทศของตนเองในอนาคต

          ศาลอาญาระหว่างประเทศยังเป็นการแสดงออกที่แจ่มชัดที่สุดของพัฒนาการของกฎหมายมนุษยธรรมและสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ การที่รัฐภาคีต่างๆ ในทวีปเอเชียได้ให้สัตยาบันต่อการสถาปนาศาลอาญาระหว่างประเทศ จะส่งผลให้เกิดการผลักดันให้มีการยอมรับและปฏิบัติตามกฎหมายระหว่างประเทศอย่างเป็นระบบมากยิ่งขึ้นและช่วยให้จิตสำนึกในเรื่องนี้หยั่งรากลึกยิ่งขึ้นอีกด้วย

ICJ ( International Court of Justice ) ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ 

                   ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ  หรือที่เรียกอย่างไม่เป็นทางการว่า ศาลโลก (World Court) ตั้งขึ้นโดยกฎบัตรสหประชาชาติเมื่อ พ.ศ. 2489 เป็นองค์กรหลักภายใต้องค์การสหประชาชาติตั้งอยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ โดยทำหน้าที่สืบเนื่องต่อจากศาลประจำยุติธรรมระหว่างประเทศ (Permanent Court of International Justice) ที่ยุติบทบาทหน้าที่ไปพร้อมกับองค์การสันนิบาตชาติ

ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศมีอำนาจพิจารณาตัดสินคดีใดๆ ที่เป็นข้อพิพาทระหว่างประเทศ 2 ประเทศขึ้นไป (Contentious Case) เช่นข้อพิพาทเรื่องดินแดนอาณาเขต การละเมิดอำนาจอธิปไตย ปัญหาสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ หรือแม้แต่กรณีที่เกี่ยวข้องกับเอกชนที่รัฐเป็นผู้ฟ้องแทน ฯลฯ ทั้งนี้ประเทศที่เกี่ยวข้องจะต้องยินยอมรับอำนาจศาลให้เป็นผู้พิจารณาตัดสินก่อนเท่านั้น ศาลจึงจะมีอำนาจพิจารณาตัดสินคดีนั้นได้

 

หน้าที่สำคัญของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
                    1.
พิจารณาข้อขัดแย้งเกี่ยวกับกฎหมายที่แต่ละประเทศนำเสนอต่อศาล เช่น การตีความหมายของสนธิสัญญาเป็นต้น ประเทศคู่กรณีตกลงที่จะปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของศาล
                    2.
ให้คำแนะนำเกี่ยวกับตัวบทกฎหมายตามคำร้องขอมาจากสมัชชา หรือคณะมนตรีความมั่นคง หรือองค์การและทบวงการชำนัญพิเศษอื่นๆ

 

     เมื่อปี พ.ศ. 2505 ประเทศไทยและประเทศกัมพูชาได้ยอมรับอำนาจศาลให้พิจารณาตัดสินคดีปราสาทเขาพระวิหาร โดยศาลได้ตัดสินว่าบริเวณปราสาทเขาพระวิหารส่วนสำคัญถือเป็นของประเทศกัมพูชา

 

องค์ประกอบของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ 

         องค์การตุลาการของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศประกอบด้วยคณะผู้พิพากษา 15 นาย ซึ่งได้รับการเลือกตั้งโดยคณะมนตรีความมั่นคงและสมัชชา โดยถือคุณสมบัติเป็นมูลฐาน ไม่ถือสัญชาติเป็นมูลฐาน ผู้พิพากษาอยู่ในตำแหน่งคราวละ 9 ปี และมีสิทธิที่จะได้รับเลือกตั้งใหม่ ผู้พิพากษาเหล่านี้ ก่อนที่จะได้รับเลือกจะต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติสูงสุดทางตุลาการในประเทศของตนหรือเป็นผู้เชี่ยวชาญในเรื่องกฎหมายระหว่างประเทศ จะไม่มีการเลือกผู้พิพากษาจากประเทศเดียวกันซ้ำกันสองคน

      ส่วนการออกเสียงนั้น ให้ถือเสียงข้างมากของผู้พิพากษาที่เข้าประชุม ในการประชุมแต่ละครั้งต้องมีผู้พิพากษาเข้าประชุมอย่างน้อย 9 นาย ในกรณีที่การลงคะแนนเสียงเท่ากัน ประธานศาลจะเป็นผู้ลงคะแนนเสียงชี้ขาด

 

 

         

      จากที่ได้ทำความเข้าใจในเรื่องของ ICC (ศาลอาญาระหว่างประเทศ) และ ICJ (ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศจะเห็นถึงข้อแตกต่างในเรื่องของศาลทั้งสองนี้ แล้วมันมีความแตกต่างกันอย่างไรหละ?

ความแตกต่างระหว่าง ICC และ ICJ  

 

          ICC    ศาลอาญาระหว่างประเทศ

             ICJ   ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ

   

    มีอำนาจพิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องกับตัวบุคคล และมีอำนาจไต่สวน ดำเนินคดี และพิพากษาคดีบุคคล

 

  มีอำนาจพิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องกับรัฐ

    

  ในคดีที่เอกชนกระทำความผิด ไม่ว่าการกระทำนั้นๆ จะเป็นส่วนหนึ่งของรัฐบาล หรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับรัฐบาลที่ใช้อำนาจรัฐอยู่

 

 ในกรณีที่เกี่ยวข้องกับเอกชนที่รัฐเป็นผู้ฟ้องแทน

 

 น่าจะหมายถึง Risk Weight Average น้ำหนักความเสี่ยงของรายการใน Credit Risk Item (กรณีอนุพันธ์ทางการเงินที่อยู่ในตลาด Exchange) หรือการเฉลี่ยน้ำหนักความเสี่ยงในเรื่องที่สนใจ

 

ICBPO ( Irrevocable Conditional Bank Payment Order)


 KYC และการพิสูจน์ทราบลูกค้า CDD

มาตรการป้องกันปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย

(Anti-Money Laundering and Combating the Financing of Terrorism: AML/CFT)

 

มาตรการป้องกันปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย

                ประเทศไทยได้ออกกฎหมายเกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินอย่างเป็นทางการครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๔๒ อันเป็นวันที่ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ (แต่เริ่มมีผลบังคับใช้จริงๆคือตั้งแต่วันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๕๔๒) โดยมีสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินเป็นหน่วยงานหลักในการบังคับใช้ตามกฎหมาย และต่อมาเมื่อวันที่ ๑๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๔๓ ได้มีการออกประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง วิธีการแสดงตนของลูกค้าสถาบันการเงิน โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๔ และมาตรา ๒๐ วรรคสองของพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๑๗ ตอนพิเศษ ๙๘ ง วันที่ ๒๗ กันยายน ๒๕๔๓) เพื่อนำมาใช้เป็นมาตรการเบื้องต้นในการเฝ้าระวังและลดความเสี่ยงในการทำธุรกรรมทางการเงินที่อาจจะส่งผลให้เกิดการฟอกเงินผ่านระบบสถาบันการเงิน

                ต่อมาสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ได้รับการมอบหมายจากคณะอนุกรรมการยกระดับ Corporate Governance ด้านธนาคารพาณิชย์ บริษัท���งินทุนและบริษัทประกันภัย ให้เป็นหน่วยงานหลักในคณะทำงานเตรียมความพร้อมโครงการประเมินการปฏิบัติตามมาตรฐานสากล (Report on the Observance of Standards and Codes: ROSCs) ด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย (Anti – Money Laundering and Combating the Financing of Terrorism: AML/CFT) โดยผู้เชี่ยวชาญจาก World Bank (WB) และ International Monetary Fund (IMF) ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๕๐ ซึ่งจากการดำเนินการของคณะทำงานดังกล่าวพบว่า ปัจจุบันพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. ๒๕๔๒ ยังไม่มีหลักการที่ชัดเจนเกี่ยวกับการรู้จักลูกค้า/การตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า (Know Your Customer/Customer Due Diligence: KYC/CDD) ของสถาบันการเงิน (Financial Institutions) และหน่วยธุรกิจ หรือผู้ประกอบวิชาชีพที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (Designated Non-Financial Businesses and Professions, DNFBP) ซึ่งหลักการดังกล่าวจะช่วยลดความเสี่ยงเกี่ยวกับการกระทำผิดมูลฐานตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.๒๕๔๒ ด้วยการช่วยชี้ให้เห็นถึงธุรกรรมที่มีเหตุอันควรสงสัย อีกทั้งหลักการดังกล่าวยังเป็นหลักเกณฑ์ตามมาตรฐานสากลที่ประเทศไทยจะต้องเข้ารับการประเมินตามโครงการROSCs 

                ดังนั้น ในภายหลังที่ประชุมคณะรัฐมนตีจึงได้มีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ เห็นชอบมาตรการป้องกันปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย เรื่อง นโยบายการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การรู้จักลูกค้า/การตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้าของสถาบันการเงิน และหน่วยธุรกิจหรือผู้ประกอบวิชาชีพที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน

                ดังนั้น ตั้งแต่ปีพ.ศ.๒๕๕๐ เป็นต้นมา สถาบันการเงินและหน่วยธุรกิจหรือผู้ประกอบวิชาชีพที่ไม่ใช่สถาบันการเงินต้องปฏิบัติตามมาตรการป้องกันปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายในส่วนของ การรู้จักลูกค้า/การตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า อย่างเคร่งครัดและรายงานผลต่อสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินอย่างต่อเนื่องเพื่อเฝ้าระวังและลดความเสี่ยงในการทำธุรกรรมทางการเงินที่อาจจะส่งผลให้เกิดการฟอกเงินในประเทศไทย

 

การรู้จักลูกค้า (Know Your Customer: KYC) และ/หรือการพิสูจน์ทราบลูกค้า (Customer Due Diligence: CDD)

                การรู้จักตัวตนของลูกค้า (Know Your Customer: KYC) หมายความรวมถึง การเก็บหลักฐานการแสดงตนของลูกค้า ที่อยู่อาศัย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับความเสี่ยงของลูกค้า รวมถึงอาจมีการขยายขอบข่ายของข้อมูลเพิ่มมากขึ้นและลงลึกอย่างละเอียดในเชิงการการตรวจสอบเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า (Customer Due Diligence: CDD) ด้วย (สมาคมธนาคารไทย:http://www.tba.or.th/)

                จากนิยามดังกล่าวนั้น ทำให้เราเห็นว่ากลุ่มเป้าหมายของการรู้จักลูกค้า (KYC) และ/หรือการพิสูจน์ทราบลูกค้า (CDD) ก็คือ ลูกค้านั่นเอง คำถามต่อมาก็คือ ลูกค้าคือใคร? และ ลูกค้าของสถาบันการเงิน และ ลูกค้าของหน่วยธุรกิจหรือผู้ประกอบวิชาชีพที่ไม่ใช่สถาบันการเงินนั้น เหมือนกันหรือ แตกต่างกันอย่างไร

                และนอกจากนี้จะเห็นได้ว่า สถาบันการเงินและ หน่วยธุรกิจหรือผู้ประกอบวิชาชีพที่ไม่ใช่สถาบันการเงินนั้นเป็นองค์กรที่ต้องทำการรู้จักลูกค้า (KYC) และ/หรือการพิสูจน์ทราบลูกค้า (CDD) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ คำถามก็คือ องค์กรใดเป็น สถาบันการเงินบ้าง? และ องค์กรใดเป็น หน่วยธุรกิจหรือผู้ประกอบวิชาชีพที่ไม่ใช่สถาบันการเงินบ้าง?

 

 

guest
ชื่อ
Email
เบอร์โทรศัพท์